เราใช้อะไรเป็นตัวบ่งบอกว่า พระกรุวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง เป็นพระสมเด็จของสมเด็จพุธฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยทางอลังการสยามจะนำเสนอมุมมองที่ไม่เคยมีใครนำเสนอมาก่อน และเชื่อว่าคงเป็นนิมิตรใหม่ขององค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมนั้น ได้ขยับขยายเพิ่มเติมกันมากขึ้น
เราเริ่มต้นจากพุทธศิลป์ งานช่างกันก่อน
งานช่าง สิบหมู่ ที่บรรจงแกะแม่พิมพ์ ไว้หลากหลายแม่พิมพ์ และมีความงดงาม นั่นเราดูอะไรกันบ้าง
หลักในการพิจารณาพระกรุดังกล่าวมีดังนี้
1. การตัดขอบองค์พระ >>>แสดงให้เห็นว่าเป็นงานช่างสมัยใด
2. เส้นซุ้มผ่าหวาย >>> นิยมทำกันในสมัยใด
3. ลักษณะขององค์พระ >>> อะไรที่มีความคล้ายคลึงกับ วัดระฆัง
4. ฐานทั้ง 3 ชั้น >>> มีอะไรที่ซ่อนอยู่ แล้วบ่งบอกได้ว่าเป็นวัดระฆัง
5. ลักษณะเทียบเคียงของพระสมเด็จสายวัดระฆัง โดยแสดงเป็นรูปภาพและมุมมอง ให้เห็นอย่างชัดเจน
6. การเทียบเคียงกับพระสายสมเด็จอื่นๆที่พบ ไม่ว่ามีการบรรจุในที่ต่างๆ แต่มีพิมพ์เหมือนวัดขุนอินทฯ หรือ มีบางพิมพ์บรรจุในวัดขุนอินทฯ เช่น พิมพ์วัดเกศไชโย บรรจุในกรุวัดขุนอินทฯ พิมพ์วัดระฆัง บรรจุในวัดขุนอินทฯ พิมพ์ขุนอินทฯ บรรจุในพระสายวังหน้า
DATE : 25-กรกฏาคม-2555
วันนี้เริ่มกันเลยครับ กับความรู้เกี่ยวกับพระกรุนี้ แบบเล็กๆ น้อยๆ เพื่อประดับความรู้กัน
พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระสมเด็จขุนอินทประมูลจัดเป็นพระที่สร้างและอธิษฐานจิต โดยสมเด็จโต พรหมรังสี ถูกบรรจุไว้ในพระนอนองค์ดังกล่าว (ศิลปะแบบสุโขทัย) โดยสมเด็จท่านได้ไป บูรณะในสถานที่ดังกล่าวไว้และสร้างพระสมเด็จหลากหลายพิมพ์ทรงบรรจุไว้
ส่วนงานสกุลช่าง และ พุทธศิลป์ ของพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูลนั้นวิเคราะห์ ได้ดังนี้
.jpg)
PIC1 : รูปพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์พระประธาน ใหญ่

PIC2 : พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระประธาน
swiss movement cheap replica watches us
swiss movement cheap omega replica watches
เปรียบเทียบ พุทธศิลป์ที่สำคัญ ในพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน
-
ปิดเศียร ต้องเป็นรูประฆัง ไม่มีการสะดุด ต้องกลมกลืน ส่วนโค้ง ของรูประฆังต้องได้สัดส่วนกลมกลืนทั้งหมด นี่ถือเป็นเอกลักษณ์ ของพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จโต หรือ จะเรียกได้ว่าลายมือการแกะแบบพิมพ์ช่างอย่างหนึ่งก็ว่าได้ พระสมเด็จของสมเด็จโตท่านสร้างนั้น จะต้องเป็นแบบนี้หมด ไม่ว่าจะออกที่วัดไหน หรือยุคใดก็ตาม
-
ซอกรักแร้ซ้าย ทำมุมแหลม และ ขณะที่ซอกรักแร้ขวาทำมุมโค้ง
-
เนื้อบริเวณหัวไหล่ซ้ายจึงบาง กว่าเนื้อบริเวณหัวไหล่ขวา
-
ซอกรักแร้ซ้าย สูงกว่า ซอกรักแร้ ขวา
-
เส้นซุ้มผ่าหวาย แบบเส้นขนมจีน ไม่หนาใหญ่เท่าเส้นผ่าหวายของวัดระฆัง
-
เส้นซุ้มเป็นแบบสมมาตร คือมีขนาดสมดุลตลอดกันทั้งเส้น ตามลักษณะแบบงานช่างสิบหมู่ในการสร้างพระยุคต้นคาบเกี่ยวกับยุคกลางของสมเด็จโตท่าน
-
เส้นผ้าทิพย์ที่ช่างเน้นให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นผ้าทิพย์นี้ มีการทำกันตั้งแต่ พระยุคต้นแล้วซึ่งปรากฏอยู่ในพิมพ์ต่างๆ และมีลักษณะเน้นให้เด่นอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงยุคต้นคาบเกี่ยวกับยุคกลาง พอมาในยุคปลายของการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เส้นผ้าทิพย์นี้กลับแผ่วบางลง เห็นได้แบบรำไร ไม่ชัดเท่าดังในยุคก่อนๆ
-
ชายจีวรที่บริเวณซอกซ้ายพระกลมกลืน ไม่ได้เน้นเหมือนกับ ของวัดระฆังที่เด่นชัดกว่า
-
ปลายหัวเข่า ซ้ายพระอยู่สูงกว่า หัวฐานชั้นแรกซึ่งก็เหมือนกับของวัดระฆัง
-
คมขวานฐานสิงห์ ไม่ได้ถูกเน้นให้เหมือน งานช่างยุคปลายที่ปรากฏในงานของ หลวงวิจารณ์ โดยของหลวงวิจารณ์ จะเน้น คมขวานที่คมและเชิด งอน แต่ขุนอินทฯ ไม่เน้นให้คมเด่นชัด เท่ากับของวัดระฆังแต่ก็มีลักษณะของการเชิดของหัวฐานสิงห์ที่คล้ายกัน คือ หัวฐานทางด้านขวาขององค์พระ เชิดสูงกว่า หัวฐานด้านซ้ายขององค์พระ การแอ่นโค้งแบบตกท้องช้างมีให้เห็น
-
ฐานชั้นล่างสุด จะหนาเป็นแท่งตันสูงนูนออกมาแทบผนังขององค์พระ จะเรียกได้ว่า อยู่ในจุดที่สุดของมิติพิมพ์พระ ขุนอินทฯ ก็ว่าได้
-
มีเส้นเดือยไก่ ที่เราพบในวัดระฆังกรุวัดขุนอินท สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
-
มีฐานหนุน ที่เราพบในพระวังหน้า ยุคกลาง ที่สร้างสมัย ร.4
-
พระสมเด็จกรุขุนอินทฯ พิมพ์พระจะไม่มีเส้นกรอบกระจก ซึ่งสอดคล้องกับงานช่างยุคกลาง อย่างไม่ต้องสงสัย
เรามาลองดูกันอย่างในตำหนิพิมพ์ที่ซ่อนอยู่ในงานพุทธศิลป์พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล อย่างละเอียดๆ อีกครั้ง

PIC3 : เปรียบเทียบพุทธศิลป์ของพระสายสกุลสมเด็จโต
-
ลักษณะขอบริมองค์พระ หากสังเกตเราจะพบว่า เป็นลักษณะพื้นที่ด้านบนแคบหรือสอบแคบ กว่าพื้นที่ด้านล่างองค์พระที่มีพื้นที่กว้างกว่าอย่างเห็นได้ชัด
-
รูปหน้าแบบ ผลมะตูม หรือ แบบข้าวหลามตัดลบมุม ที่พบเห็นรูปหน้าลักษณะนี้ในวัดระฆังได้บ่อยๆ
-
เกศขุนอินทฯ เป็นแบบเกศยาวจรดซุ้ม ยังไม่พบเกศยาวทะลุซุ้ม (อาจมี)
-
เส้นซุ้มเล็ก มิติไม่เน้นให้หนา ลึก เท่ากับในแบบวัดระฆัง และเส้นซุ้มกรุวัดขุนอินทฯ เป็นแบบกลมมน และมีขนาดเล็ก การวางเส้นแบบสมดุล ตลอดกันทั้งเส้น
-
ไม่มีเส้นบังคับพิมพ์ หรือเส้นกรอบกระจก หรือ เส้นวาสนา ในแบบวัดระฆังยุคปลายโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย
-
ซอกรักแร้ด้านซ้ายทำมุมแหลมสูงกว่ารักแร้ขวา เหมือนกับในแบบวัดระฆัง
-
ลำแขนซ้ายด้านในทิ้งเกือบเป็นเส้นตรง ส่วนด้านนอกโค้งน้อยๆ คล้ายคลึงกับลักษณะการทิ้งแขนของวัดระฆัง
-
ปรากฏเส้นชายจีวรจากแนวข้อศอกเป็นทิวเชื่อมแบบกลมกลืนมายังหัวเข่าด้านซ้ายองค์พระ ที่มีปรากฏเหมือนกันกับในแบบของวัดระฆัง
-
หัวเข่าด้านซ้ายขององค์พระ ยกสูงกว่าแนวหัวเข่าด้านขวาองค์พระ และสูงกว่าเมื่อเทียบกับ หัวฐานชั้นแรก ด้านซ้าย เช่นกัน
-
ร่องระหว่างหัวเข่าซ้ายพระ กับ หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้าย จะมีมิติที่ลึกกว่า ร่องฐานด้านขวาเมื่อเทียบกับ (หมายเลขที่ 18) และหัวฐานชั้นที่ 1 จะอยู่ในระดับต่ำกว่า หัวเข่าซ้ายพระเมื่อมองทแยงเฉียงขึ้นไป ลักษณะดังกล่าว ก็ปรากฏในวัดระฆังเช่นกัน
-
ลักษณะของคมขวานฐานสิงห์ ด้านขวา มีลักษณะของขาสิงห์ชัดเจนกว่า ด้านขวา
-
ลักษณะที่เห็นเอกลักษณ์ ของพระสมเด็จกรุนี้คือ ฐานชั้นล่างสุด ทึบตัน เล็กและแคบกว่า และยังมีลักษณะที่นูนเด่นกว่า เมื่อเทียบกับฐานชั้นล่างของวัดระฆัง
-
แนวการตัดเฉียงของหัวฐานชั้นนี้และการมีเส้นแทงเข้ามุมเส้นซุ้ม คล้ายกับที่ปรากฏในพิมพ์เจดีย์ของวัดระฆัง
-
เอกลักษณ์ ที่ในพระกรุนี้ของพิมพ์พระประธาน คือ เม็ดข้าวสารที่วางหนุน ใต้ฐานล่างสุด ในแนวนอน เปรียบประดุจขาโต๊ะ
-
ปรากฏเส้นแทงมุมฐาน (เส้นเดือยไก่) ตามแบบฉบับพุทธศิลป์ของวัดระฆัง
-
คมขวานฐานสิงห์เชิดสูงขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับหัวฐานทางด้านซ้ายมือองค์พระ (หมายเลข11)
-
หัวฐานชั้นแรก ทางด้านขวามือขององค์พระ จะยกสูงกว่า หัวฐานด้านซ้ายขององค์พระอย่างชัดเจน ในลักษณะของการเท SLOPEจากขวาไปซ้าย อย่างชัดเจน
-
ฉะนั้น เมื่อส่องดูในแนวช่องฐาน ก็จะปรากฏลักษณะเดียวกันกับ (หมายเลข 17)คือในร่องฐานดังกล่าว มีลักษณะการเท SLOPEจากขวาไป ซ้ายเช่นเดียวกับข้อ 17
-
พบเส้นผ้าทิพย์ หรือเส้นแซมใต้หน้าตักองค์พระชัดเจน มีทั้งเป็นทิวบางอ่อนพลิ้วหรือเน้นในเด่นชัดและพลิ้วไหวอย่างชัดเจน
-
แนวลำแขนที่หักเข้าหากันในท่าสมาธินั้น หากพิจารณาแล้วพบว่า bolsos imitacion การหักศอกในส่วนของลำแขนด้านขวาองค์พระ จะหักให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อเทียบกับการหักศอกทางแขนซ้ายขององค์พระ ที่มีลักษณะโค้งเข้าหาแนวประสานมือในท่าปางสมาธิ
-
ซอกรักแร้ขวาขององค์พระทำมุมป้านกว่า และอยู่ในแนวที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับ (หมายเลข 6)
-
เห็นแนวลำคอ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับที่ปรากฏในวัดระฆัง
พระที่ค้นพบในกรุวัดขุนอินทประมูล และมีความเชื่อมโยงกับพระของสมเด็จโตที่ท่านสร้างไว้ในวัดต่างๆ มีดังนี้
-
พระพิมพ์แรกของวัดไชโย พ.ศ. 2357 พระสมเด็จ 7ชั้นวัดไชโยรุ่นหนึ่ง ถูกบรรจุรวมไว้กับ กรุนี้ ช่างชาวบ้านในพื้นที่ถวายฝีมืองานช่างให้แก่สมเด็จโต

PIC4 : พระสมเด็จ 7ชั้นพิมพ์แรกวัดไชโย
พระองค์นี้กระผมจะนำมากล่าวอย่างละเอียดในบทความต่อไป ติดตามกันต่อไปนะครับ
2. พระพิมพ์ อกครุฑเศียรบาตร พิมพ์นี้พบในวัดระฆัง เช่นกัน เหมือนกับที่พบในกรุวัดขุนอินทประมูล

PIC5 : พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
3. พระสมเด็จ วัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ฝากกรุในวัดขุนอินทประมูล

PIC6 : พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง ค้นพบในกรุวัดขุนอินทประมูล
4. พระสมเด็จพิมพ์ 7ชั้น วัดไชโย ฝากกรุวัดขุนอินทประมูล

PIC7 : พระสมเด็จพิมพ์ 7ชั้นวัดเกศไชโย พิมพ์A
5. พระสมเด็จวังหน้า ลงรักเก่า พิมพ์แบบเดียวกับพิมพ์พระประธานกรุวัดขุนอินทประมูล

PIC8 : พระสมเด็จพิมพ์พระประธาน กรุวังหน้า
การดูภาพรวมของลักษณะพิมพ์ และงานช่าง ของสมเด็จขุนอินทฯ มุมมองเพิ่มเติม
-
แคบบน บานล่าง
-
มีSLOPE ถ่ายออก ทุกมุม จากศูนย์กลาง ลงสู่ขอบตัดขององค์พระ
-
พิมพ์มีลักษณะส่วนใหญ่ตื้น ไม่ลึก
-
ไม่มีเส้นกระจก
-
พระบางไม่หนาเท่าวัดระฆัง
-
เนื้อพระค่อนข้างละเอียด ไม่หยาบเท่าวัดระฆัง
-
มีการแซะพิมพ์หรือรอยงัดพระออกมาจากแม่พิมพ์ ใต้ขอบองค์พระด้านล่าง มีปรากฏขึ้นได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา มีทั้งเป็นเหลี่ยม เกือบกลม หรือ เป็นแบบเสียบแบนเหมือนปลายมีด ในที่นี้ให้เป็นจุดในการสังเกตลักษณะของงานช่างในการทำพระชุดนี้ แต่ไม่ใช่จุดชี้เป็นชี้ตาย เพราะพบว่าพระบางองค์ก็ไม่มีรอยแซะพิมพ์แต่อย่างใด ก็เป็นพระแท้ได้
รอยแซะหรือรอยงัดพระออกจากแม่พิมพ์ในแบบต่างๆ

บทความโดย กิจ หาดใหญ่
อลังการสยาม